ทุนการศึกษา

ทุนสำหรับโครงการพิเศษ (สองภาษา) คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • ทุนยกเว้นค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน (60,000 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษาปกติ)โดยจะจัดสรรทุนนี้ให้แก่นักศึกษาที่สอบตรง/โควต้าเข้ามหาวิทยาลัย

  • ทุนการศึกษาบางส่วน (20,000 บาทต่อหนึ่งภาคการศึกษาปกติ)

  • ทุนฝึกงานต่างประเทศเป็นค่าตั๋วเดินทางในวงเงินสูงสุด 50,000 บาทต่อทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนจะพิจารณาจากผลการเรียนและผลการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ รายละเอียดติดต่อได้ที่สำนักงานภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต (025-874-335 ต่อ 101 คุณมยุรี)

ทุนสำหรับนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งได้ 4 ประเภท

1. ทุนการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย

  • ทุนอุดหนุนการศึกษา นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ (ประเภทยกเว้นค่าหน่วยกิต)

  • ทุนอุดหนุนวิชาการ (โครงการสมทบพิเศษ)

  • ทุนการศึกษาจากเงินพัฒนาวิชาการ (โครงการปกติ) มี 4 ประเภท คือ

    • ทุนเรียนดี

    • ทุนขาดแคลน

    • ทุนผู้มีความสามารถดีเด่น (อาทิ ด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม)

    • ทุนการศึกษาอื่นๆ ที่คณะกรรมการกำหนด

  • ทุนช่วยเหลือฉุกเฉินเพื่อการศึกษา กรณีต่างๆ

2. ทุนการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก

มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนด้านทุนการศึกษาส่วนหนึ่งจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นประจำปี ทั้งที่เป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องและทุนการศึกษาที่เพิ่มใหม่ในแต่ละปีการศึกษา ซึ่งแหล่งทุนใหญ่มาจาก 2 แหล่งทุน คือ

  • มูลนิธิ บริษัท กองทุนฯ ต่างๆ ศิษย์เก่า และผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์จะสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาตามคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปของแต่ละประเภททุน ในแต่ละปีการศึกษามีมูลนิธิ บริษัท กองทุนต่างๆ ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธา ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยจำนวนประมาณ 36 แหล่งทุน มูลค่าทุนการศึกษาประมาณ 2,414,200 บาท

  • หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรทุนตามนโยบายรัฐ ในโครงการต่างๆ เช่น ทุนการศึกษาเยาวชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เริ่มปีการศึกษา 2550) ทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี (เริ่มปีการศึกษา 2550) ทุนการศึกษาในพระราชานะเคราะห์ (ทุนต่อเนื่อง) เป็นต้น

3. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

มหาวิทยาลัยดำเนินการตามนโยบายรัฐ ในการสนับสนุนให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่ประสงค์จะขอรับเงินทุนการศึกษาประเภทที่ต้องชำระคืนในโครงการ “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” (กยศ.) มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลตั้งแต่ปี 2539-2550 มีนักศึกษาอยู่ในโครงการทั้งสิ้น 45,084 สัญญา มูลค่าเงินทุนฯกว่า 3,070,863,246 บาท (การดำเนินงานในปีการศึกษา 2551 อยู่ระหว่างการทำสัญญา) ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป การกู้ยืมเงินฯ นักศึกษาจะต้องดำเนินการกู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ทั้งหมด

4. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)

เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2549 และในปีการศึกษา 2550 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกองทุนฯ กรอ. และนำกลับมาใช้ใหม่ในปีการศึกษา 2551 ซึ่งมีจำนวนนักศึกษากู้ยืมฯ โครงการ กรอ. ทั้งสิ้น 5,906 สัญญา มูลค่าเงินทุนฯ กว่า 106,737,380 บาท